เกร็ดความรู้
การดูแลและทำความสะอาดสแตนเลส
ทำไมต้องดูแลและทำความสะอาดสแตนเลส
โดยปกติสแตนเลสจะสัมผัสกับคราบอาหาร รอยนิ้วมือ น้ำ สภาพอากาศต่างๆ ก๊าซ ของเหลว กรด มลภาวะ สารละลายเกลือ คราบตกค้างจากสารทำความสะอาด (ซึ่งบางครั้งมีคลอรีนเจือปนอยู่) ป้าย หรือแถบกาว ทั้งหมดที่กล่าวมานี้เป็นสาเหตุของการเกิดการกัดกร่อน คราบสกปรก ฝ้า และความหม่นของผิว การทำความสะอาดจะช่วยป้องกันการเสื่อมสภาพของสแตนเลส
การดูแลรักษาตามปกติ
สแตนเลสมีภาพลักษณ์การใช้งานที่ยาวนานและทนทาน อย่างไรก็ตามการทำความสะอาดเป็นระยะๆ เพื่อขจัดสิ่งสกปรกเป็นสิ่งที่จำเป็น เพื่อป้องกันความเสียหายจากการกัดกร่อนที่อาจเกิดขึ้นได้ ระยะเวลาที่เหมาะสมในการทำความสะอาดขึ้นอยู่กับชนิด ผิว รูปทรง และสภาพการใช้งานสแตนเลสนั้นๆ
♦ ควรทำ
- ทำความสะอาดสแตนเลสอย่างสม่ำเสมอ และเมื่อสังเกตเห็นคราบหรือฝุ่นละอองต้องรีบทำความสะอาด
- การทำความสะอาดสแตนเลส ควรเริ่มจากผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่อ่อนที่สุด โดยเริ่มใช้ในบริเวณเล็กๆก่อน เพื่อดูว่าเกิดผลกระทบอะไรกับผิวสแตนเลสหรือไม่
- ใช้นำอุ่นล้างคราบความมันออก
- หมั่นล้างสแตนเลสด้วยน้ำสะอาดเป็นขั้นตอนสุดท้าย เช็ดให้แห้งด้วยผ้านุ่มหรือกระดาษชำระ
- หลังจากใช้เครื่องครัวที่ทำด้วยสแตนเลสควรล้างให้สะอาดทุกครั้ง
- หลีกเลี่ยงคราบ / สนิมเหล็กที่อาจติดมากับอุปกรณ์ทำความสะอาดที่ทำมาจากเหล็ก หรือใช้ทำความสะอาดชิ้นส่วนเหล็กกล้าคาร์บอน
♦ ไม่ควรทำ
- ไม่ควรเคลือบผิวสแตนเลสด้วยแวกซ์หรือวัสดุที่ผสมน้ำมัน เพราะจะทำให้คราบสกปรกหรือฝุ่นละอองติดบนพื้นผิวได้นานขึ้น และล้างทำความสะอาดออกยาก
- ไม่ควรใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่มีส่วนประกอบของคลอไรด์และฮาไลด์ (เช่น โบรไมน์ ไอโอดีนและพลูออรีน
- ไม่ความใช้กรดเกลือในการทำความสะอาด เพราะอาจก่อให้เกิดการกัดกร่อนแบบรูเข็ม และการแตกเนื่องจากความเครียด (Stress Corrosion Cracking)
- ไม่ควรใช้สบู่หรือผงซักฟอกมากเกินไป เพราะจะทำให้ผิวสแตนเลสมัวและหมองลง
- ไม่ควรทำความสะอาดและทำพาสซิเวชั่น(Passivation)ในขั้นตอนเดียว ควรทำตามขั้นตอน คือ ล้างก่อนแล้วค่อยทำพาสซิเวชั่น
วิธีการทำความสะอาดสแตนเลสหรือภาชนะสแตนเลสสำหรับคราบสกปรกทั่วๆไป
♦ รอยนิ้วมือ - ล้างด้วยสบู่ ผงซักฟอก หรือสารละลาย เช่น แอลกอฮอล์ หรืออาเซโทน ล้างออกด้วยน้ำเย็นและเช็ดให้แห้ง
♦ น้ำมันและคราบมัน - ล้างด้วยสารละลายไฮโดรคาร์บอน/ออร์กานิก (เช่น แอลกอฮอล์) แล้วล้างด้วยน้ำสบู่หรือผงซักฟอกอย่างอ่อนและน้ำล้างออกด้วยน้ำเย็นและเช็ดให้แห้งแนะนำให้จุ่มชิ้นงานให้โชกก่อนล้างในน้ำสบู่อุ่น
♦ สี - ล้างออกด้วยสารทำละลายสี ใช้แปรงไนล่อนนุ่มๆขัดออกแล้วล้างออกด้วยน้ำเย็นและเช็ดให้แห้ง
♦ คราบเขม่าสีบนผิวเนื่องจากความร้อน - จุ่มลงในสารละลายที่มีแอมโมเนียเป็นส่วนประกอบ ล้างออกด้วยน้ำเย็น และเช็ดให้แห้ง ทาครีมขัดเงาลงบนแผ่นขัดสำหรับผิวสแตนเลสที่ไม่ได้ทำจากเหล็กแล้วขัดคราบที่ติดบนสแตนเลสออกโดยขัดไปในทิศทางเดียวกับพื้นผิว
ล้างออกด้วยน้ำเย็นและเช็ดให้แห้ง
♦ ป้ายติดหรือสติ๊กเกอร์ - จุ่มลงในน้ำสบู่อุ่นๆ ลอกเอาป้ายออกแล้ว ถูกาวออกด้วยเบนซิน ล้างออกด้วยน้ำสบู่ จากนั้นล้างให้สะอาดด้วยน้ำอุ่น เช็ดให้แห้งด้วยผ้านุ่ม
♦ น้ำและคราบหินปูน - จุ่มลงในน้ำส้มสายชูเจือจาง(25%) หรือกรดไนตริก(15%) ล้างให้สะอาด ล้างออกด้วยน้ำสบู่ จากนั้นล้างให้สะอาดด้วยน้ำอุ่น เช็ดให้แห้งด้วยผ้านุ่ม
♦ คราบชา-กาแฟ - ล้างด้วยโซดาไปคาร์บอเนตในน้ำ ล้างออกด้วยน้ำสบู่ จากนั้นล้างให้สะอาดด้วยน้ำอุ่น เช็ดให้แห้งด้วยผ้านุ่มๆ
♦ คราบสนิมจุ่ม - ในสารละลายที่มีน้ำอุ่นต่อกรดไนตริกในอัตราส่วน 9 ต่อ 1 ประมาณครึ่งถึงหนึ่งชั่วโมง ล้างออกด้วยน้ำให้สะอาดหรือล้างผิวด้วยสารละลายกรดออกซาลิกและทิ้งไว้ประมาณ 20 นาที ล้างออกด้วยน้ำเย็นและเช็ดให้แห้ง หรือต้องใช้เครื่องมือขัด
หากคราบสนิมติดแน่น
♦ ข้อแนะนำ - ควรใช้ความระมัดระวังในการใช้กรด หากมีข้อสงสัยใดๆ ควรติดต่อผู้เชี่ยวชาญ
ขอบคุณ แหล่งที่มาข้อมูล: คู่มือการดูแลและทำความสะอาดสแตนเลส
บริษัท โพสโค-ไทยน๊อคซ์ จำกัด (มหาชน)
ประเภทของสแตนเลส
โดยทั่วไปสแตนเลส แบ่งออกเป็น 5 กลุ่มใหญ่ๆ ตามโครงสร้าง คือ
1. ตระกูลออสเทนนิติค(Austenitic)
หรือที่รู้จักกันใน "ซีรี่ส 300" ซึ่งประมาณได้ว่า 70% ของการผลิตสแตนเลสในโลกนี้เป็นสแตนเลสตระกูลออสเทนนิติค ที่ประกอบด้วยคาร์บอนอย่างน้อย 0.15% มีส่วนผสมของโครเมียมอย่างน้อย 16% และนิกเกิล ซึ่งช่วยปรับปรุงคุณสมบัติในการขึ้นรูปประกอบและเพิ่มความทนทานต่อการกัดกร่อน บางเกรดจะมีแมงกานีสผสมอยู่ด้วย โดยทั่วไปจะมีโครเมียม 18% นิกเกิ้ล 10% และมักเรียกกันว่า 18/10 ซึ่งคล้ายกับ 18/0 และ 18/8
2. ตระกูลเฟอร์ริติค(Ferritic)
มีสมบัติดูดแม่เหล็ก มีโครเมียมเป็นธาตุผสมหลักระหว่าง 10.5-27% บางเกรดผสมนิกเกิลลงไปเล็กน้อย บางเกรดผสมโมลิบดินัม หรืออลูมิเนียม ไททาเนียม
3. ตระกูลมาร์เทนซิติค (Martensitic)
เป็นตระกูลที่มีความต้านทานการกัดกร่อนน้อยกว่าออสเทนนิติคและเฟอร์ริติค แต่มีความทนทานและแข็งแรงมากกว่า มีคุณสมบัติดูดแม่เหล็ก โดยทั่วไปจะมีส่วนผสมของโครเมียม 12 -14% โมลิบดินัม 0.2-1% มีนิกเกิล 0-2%และมีคาร์บอนผสมอยู่ประมาณ 0.1-1% ซึ่งสามารถชุบแข็งได้โดยการให้ความร้อนแล้วทำให้เย็นตัวอย่างรวดเร็วและอบ คืนตัว โดยทั่วไปจะรู้จักกันใน "ซีรี่ส -00"
4. ตระกูลดูเพล็กซ์ (Duplex)
เนื่องจากมีโครงสร้างผสมระหว่างโครงสร้างเฟอร์ไรต์และออสตไนต์ จึงทำให้มีความแข็งแรงมากกว่าออสเทนนิติคและมีความทนทานต่อการกัดกร่อนชนิด รูเข็ม ซอกอับ มีโครเมียมเป็นธาตุผสมอยู่ระหว่าง 19- 28% โมลิบดินัมสูงกว่า 5% และมีนิกเกิลน้อยกว่าตระกูลออสเทนนิติค ใช้งานมากในสภาพแวดล้อมที่มีคลอไรด์สูง
5. ตระกูลเพิ่มความแข็งโดยการตกผลึก
มีความต้านทานกการกัดกร่อนเทียบเคียงกับตระกูลออสเทนนิติค มีความแข็งแรงมากกว่าตระกูลมาร์เทนซิติค เกรด 17-4H ที่รู้จักกันทั่วไป มีโครเมียมผสมอยู่ 17% และมีนิกเกิล 4% ทองแดง และไนโอเบียมผสมอยู่ด้วย เนื่องจากสแตนเลสชนิดนี้สามารถชุบแข็งได้ในคราวเดียว จึงเหมาะสำหรับทำแกน ปั๊มหัววาล์ว และส่วนประกอบของอากาศยาน
แนวทางการใช้งานทั่วไป
♦ สแตนเลสตระกูลออสเทนนิติค
เป็นสแตนเลสที่ได้รับความนิยมในการนำมาใช้งานอย่างกว้างขวาง ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์เครื่องครัว เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร เครื่องใช้ไฟฟ้า งานตกแต่งอาคาร งานสถาปัตยกรรม อุปกรณ์ในการผลิตเบียร์ หรือการผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มและอาหารที่มีสมบัติต้านทานที่เกี่ยวข้องกับความสะอาดและสุขศาสตร์อนามัย เช่น ครุภัณฑ์สแตนเลส เครื่องมือทางการแพทย์ อุปกรณ์ทางการแพทย์ ครุภัณฑ์การแพทย์ เครื่องมือแพทย์ที่ใช้ในโรงพยาบาลและเวชภัณฑ์ สามารถใช้งานที่อุณหภูมิต่ำติดลบและสามารถใช้งานที่อุณหภูมิสูง เช่น ทำท่อแลกเปลี่ยนอุปกรณ์ความร้อน ทำอุปกรณ์ควบคุมหรือกำจัดมลภาวะและควันพิษ งานท่อ, ถังเก็บ ภาชนะที่ใช้ในงานอุตสาหกรรมและภาชนะความดันที่ใช้ในอุตสาหกรรมเคมี ปิโตรเคมี ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม อุตสาหกรรมเหมืองแร่ การผลิตเนื้อเยื่อกระดาษและกระดาษ อุปกรณ์ในตู้โดยสารรถไฟ รถเข็นอาหาร ภาชนะสแตนเลส เครื่องครัวสแตนเลส เป็นต้น
♦ สแตนเลสตระกูลเฟอร์ริติค
เป็นที่นิยมใช้มากที่สุดในงานอุปกรณ์ตกแต่งในอาคาร เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร ช้อนส้อม มีด และเครื่องครัวสแตนเลสใช้ในครัว อ่างสแตนเลส อุปกรณ์เครื่องใช้ภายในบ้าน งานสถาปัตยกรรม เครื่องถ่ายความร้อนในกระบวนการผลิตและอุปกรณ์เครื่องใช้ในการผลิตอาหารนม แกนและถังปั่นในเครื่องซักผ้าและเครื่องล้างจาน นอกจากนี้สามารถนำไปใช้ในงานเรือเดินสมุทร ทำแผ่นดาดฟ้าเรือ ฝายน้ำล้น โซ่ในงานขนถ่ายสินค้า อุปกรณ์ดูดฝุ่นและควัน เป็นต้น
♦ สเตนเลตระกูลมาร์เทนซิติค
สามารถนำไปใช้ในงานที่ต้องการความทนทานและมีความแข็ง เช่น ทำใบมีด เครื่องมือผ่าตัด ตัวยึด กระสวยหรือแกนเพลา หัวฉีด เพลาและสปริง โดยทั่วไปผลิตออกมาในรูปเป็นท่อนแบน แผ่น และงานหล่อตัวอย่าง เป็นต้น
♦ สเตนเลสตระกูลดูเพล็กซ์
นำไปใช้ในการทำแผงและท่ออุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อน อุปกรณ์ขนถ่ายวัสดุ ถังเก็บ และถังความดันในบรรยากาศแวดล้อมของคลอไรด์ที่มีความเข้มข้นสูง ตัวอย่างงานได้แก่ อุปกรณ์หล่อเย็นด้วยน้ำทะเล การกลั่นน้ำทะเลให้บริโภคได้ อุตสาหกรรมหมักดอง เหมืองฉีดน้ำ อุตสาหกรรมน้ำมันและแก๊ส เป็นต้น
ขอบคุณ แหล่งที่มาข้อมูล: http://www.tssda.org
(Thai Stainless steel Development Association)